วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

4 ว.สารพัดช่างตกประเมินรอบ 2

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


4 ว.สารพัดช่างตกประเมินรอบ 2


"สุโขทัย-สมุทรปราการ-ปราจีนบุรี-ธนบุรี" "สมหวัง"แตะเบรกอาชีวะเฮโลสอน"ป.ตรี"



เมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวศึกษา ประเภทสารพัดช่าง ว่า จากการประเมินวิทยาลัยสารพัดช่าง 50 แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาของ สมศ. 42 แห่ง คิดเป็น 84% ไม่ได้รับการรับรอง 4 แห่ง คิดเป็น 8% ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี และวิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี และรอพินิจ 4 แห่ง คิดเป็น 8% ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร วิทยาลัยสารพัดช่างตราด และวิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี ส่วนที่รอพินิจต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 6-12 เดือน

นายสมหวัง กล่าวว่า เมื่อจำแนกเป็นรายมาตรฐาน ปรากฏว่า มาตรฐานด้านประกันคุณภาพภายใน มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 9 แห่ง คิดเป็น 18% ดี 32 แห่ง คิดเป็น 64% พอใช้ 5 แห่ง คิดเป็น 10% และควรปรับปรุง 1 แห่ง คิดเป็น 2% ต้องปรับปรุง 3 แห่ง คิดเป็น 6% ด้านการฝึกอบรม มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 16 แห่ง คิดเป็น 32% ดี 32 แห่ง คิดเป็น 64% พอใช้ 2 แห่ง คิดเป็น 4% ด้านจัดการศึกษา มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 5 แห่ง คิดเป็น 10% ดี 36 แห่ง คิดเป็น 72% พอใช้ 9 แห่ง คิดเป็น 18% ด้านการเทียบโอนผลการเรียนรู้ มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 8 แห่ง คิดเป็น 29.63% ดี 16 แห่ง คิดเป็น 59.26% พอใช้ 3 แห่ง คิดเป็น 11.11% ด้านการให้บริการวิชาการและวิชาชีพต่อชุมชนและสังคม มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 26 แห่ง คิดเป็น 52% ดี 23 แห่ง คิดเป็น 46% พอใช้ 1 แห่ง คิดเป็น 2% และด้านการบริหารและการจัดการ มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 16 แห่ง คิดเป็น 32% ดี 31 แห่ง คิดเป็น 62% พอใช้ 1 แห่ง คิดเป็น 2%

นายสมหวังกล่าวอีกว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่งนั้น จากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวะของรัฐ และเอกชน พบว่า สถานศึกษาที่ได้รับการประเมินภายนอกแล้ว 549 แห่ง ส่วนใหญ่ 424 แห่ง มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และ 101 แห่ง มีผลการประเมินในระดับดีมาก มีสถานศึกษารอพินิจ 25 แห่ง แบ่งเป็น ของรัฐ 14 แห่ง เอกชน 21 แห่ง และสถานศึกษาที่ สมศ.ไม่รับรองมาตรฐาน 59 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นของรัฐ 27 แห่ง และเอกชน 32 แห่ง เมื่อพิจารณาจำนวนอาจารย์ผู้สอน พบว่า ปัจจุบันวิทยาลัยในสังกัด สอศ.มีสัดส่วนอาจารย์ที่เป็นลูกจ้างกว่า 50% และมีวุฒิระดับปริญญาตรี 73% หรือ 2 ใน 3 ของอาจารย์ทั้งหมด ดังนั้น การเปิดสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือปฏิบัติการของอาชีวะ ต้องรีบพัฒนาบุคลากร อย่างน้อยผู้ที่จะสอนระดับปริญญาตรีได้ต้องจบปริญญาโทขึ้นไป และควรมีประสบการณ์ในสถานประกอบการมากพอ ดังนั้น แม้จะมีกฎกระทรวงแล้ว แต่การอนุมัติให้กลุ่มสถาบันเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ควรพิจารณาความพร้อมของอาจารย์ และประเภทสาขาวิชา โดยยึดผลการประเมินของ สมศ.ไม่ใช่ถือเป็นการขยายโอกาส เพราะจะกลายเป็นปัญหาใหม่ในวงการอาชีวะ

"การ กำหนดให้กลุ่มสถาบันใดเปิดสอนปริญญาตรีในสาขาวิชาไหน ควรดูผลประเมินของ สมศ.ก่อน หากกลุ่มใดมีสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก ถือเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมมาก แต่กลุ่มใดไม่ได้รับการรับรองมาก ต้นสังกัดต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันทั้ง 101 แห่ง ที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) น่าจะนำร่องจริงจัง โดยให้สถานศึกษาในกลุ่มนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เริ่มภูมิภาคละ 1-2 แห่ง บริหารจัดการ และรับงบประมาณโดยตรงจากสำนักงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาอาจารย์ลูกจ้าง และบรรจุเป็นข้าราชการได้เอง จากนั้นขยายผลในกลุ่มที่ได้ระดับดีให้เป็นนิติบุคคล" นายสมหวังกล่าว

หน้า 22
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01051152&sectionid=0107&day=2009-11-05

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism )


 
Please visit blog.Thanks for visiting!
http://www.parent-youth.net
http://www.thaihof.org
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.industry4u.com
http://logistics.dpim.go.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://www.think.co.th/idea/?p=151


 
From: kwanruthai <kwanruthai@dpiap.org>
To: 
Sent: Fri, October 30, 2009 4:44:13 PM
Subject: การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism )

เรียนทุกท่าน

 

ขอส่งข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism ) เอกสารตามไฟล์แนบ ขออภัยหากไฟล์แนบมีขนาดใหญ่

โดยที่ผ่านมาพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิตและทีมงานดีพีไอเอพี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้คนพิการและส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลในพื้นที่ประสบภัยทสึนามิ (Training Workshop on Barrier-free Tourism) เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2548  เขาหลัก จ.พังงา โดยมีโรงแรม สถานประกอบการต่างๆในจังหวัดพังงา ที่ถูกผลกระทบจากภัยธรรมชาติทสึนามิ ร่วมประชุมในครั้งนี้  

โดยคุณศรัญ   ผู้บริหารบ้านเขาหลักรีสอร์ท ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ และเป็นผู้นำแนวความคิดไปปรับใช้ โดยมีแนวคิดที่กว้างไกลกว่ากฏหมายที่ระบุไว้  โดยมองตามหลักความเป็นจริงว่า การจัดสิ่งอนวยความสะดวกต้องเพียงพอต่อผู้ใช้บริการมากกว่าจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กฏหมายกำหนด เท่านั้น  และเป็นรีสอร์ทอันดับต้นๆของประเทศไทย ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และได้รับรางวัลสถานที่ดีเด่นที่เอื้อต่อคนพิการ จัดโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายนที่ผ่านมา

ขออนุญาตลอกข้อความจากพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิต ท่านเคยกล่าวว่า " งานด้านจัดการสภาพแวดล้อมนั้นยิ่งใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ เหมือนการสร้างบ้านแปงเมือง ถ้าทุกคนทุกระดับที่สนใจงานพัฒนาคนพิการจะเข้าใจ และช่วยกันคนละไม้คนละมือ ติดตามตรวจสอบคนละโครงการ ไม่นานจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน จะรออาศัยการผลักดันจากส่วนกลางหรือกฎหมาย/นโยบายที่ดีไม่เพียงพอ การติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยวิธีการทั้งมวลก็สำคัญไม่น้อยกว่าตัวกฎหมายเอง เมื่อสภาพแวดล้อมได้รับการจัดการหรือปรับปรุงให้เอื้ออำนวย เราจะเห็นคนพิการกล้าออกมาปรากฏตัวมากขึ้น เจตคติของคนจะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดี มองคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เจตคติต่อการจ้างงาน การศึกษา ฯลฯ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนตาม นี่ไม่ใช่อุดมคติเลย คือเรื่องจริงที่ทำได้ ทีละน้อยๆระยะหลังๆ นี้มีการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาสิ่งก่อสร้างและแหล่งท่องเที่ยวกันมาก ทั้งโดยรัฐบาลและ อปท. พบว่าจำนวนมากอยู่ภายใต้บังคับกฎกระทรวง กรมโยธาฯ ๒๕๔๘ รวมทั้งงานก่อสร้างใหญ่น้อย แต่ขาดคนพิการ/องค์กร คอยเป็นหูเป็นตาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล Tourism for All or Barrier-free Tourism มีส่วนสำคัญที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนชรา นอกเหนือไปจากนำรายได้เข้าประเทศจากคนกลุ่มนี้มหาศาล

กฎกระทรวง ๒๕๔๘….เรื่อง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ  หรือทุพพลภาพ และคนชรา

ข้อ ๓ อาคารประเภทและลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ในบริเวณที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป

(๑) โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สถานศึกษา หอสมุดและพิพิธภัณฑสถานของรัฐ สถานีขนส่งมวลชน เช่น ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีรถ ท่าเทียบเรือ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน ๓๐๐ ตารางเมตร

(๒) สำนักงาน โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุม สนามกีฬา ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร

กฎกระทรวง ๒๕๔๒….เรื่อง ลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น ที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ "

 

จากที่เราเห็นความสำเร็จของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านเขาหลักรีสอร์ทนั้น เกิดจากการทำงานอย่างหนักระหว่างการร่วมมือกันของคนพิการ องค์กรคนพิการ องค์กรในชุมชน และสถานประกอบการ  ทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม จึงนำมาสู่การมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาค  และงานด้านคนพิการ จำเป็นต้องร่วมมือกันในหลายๆฝ่าย หลายๆด้าน อยากให้ทุกคนตระหนักถึง และช่วยกันพัฒนาให้สังคมปราศจากอุปสรรค ทำให้คนพิการสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง

 

 

ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน หรือ ส่งซ้ำ หากท่านไม่ประสงค์รับข้อมูลข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ กรุณาแจ้งได้ที่ kwanruthai@dpiap.org

 

ขอบคุณค่ะ

ขวัญฤทัย สว่างศรี

ผู้ประสานงานโครงการภายในประเทศ

องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

Best regards,

Ms.Kwanruthai  Savangsri

National Project Coordinator

 

**************************************************************

Disabled Peoples' International Asia-Pacific Region (DPI/AP)

92 Phaholyothin 5 Road, Samsennai, Phayathai Bangkok 10400 THAILAND

Tel: 66 (0)2 271-2123

Fax: 66 (0)2 271-2124

Email: kwanruthai@dpiap.org

Website: http://www.dpiap.org/

**************************************************************

 


วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจากสำนักงานองค์การคนพิการสากลฯ


 
Please visit blog.Thanks for visiting!
http://www.parent-youth.net
http://www.thaihof.org
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.industry4u.com
http://logistics.dpim.go.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://www.think.co.th/idea/?p=151


 
From: Apanee Mitthong <apanee@dpiap.org>
To:
Sent: Sun, October 25, 2009 7:33:12 PM
Subject: RE: ข่าวจากสำนักงานองค์การคนพิการสากลฯ

ขอบคุณคะ

 


From: kwanruthai [mailto:kwanruthai@dpiap.org]
Sent: Sunday, October 25, 2009 6:08 PM
To: 

Subject: ข่าวจากสำนักงานองค์การคนพิการสากลฯ

 

 

ข่าวภายในวันที่ ๑๙ ถึงวันที่ ๒๕ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ดังนี้

 

 

-        ตรังเดือดร้อน! หลังรถไฟหยุดวิ่งกระทบต่อกีฬาคนพิการแห่งชาติ

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000125432&Keyword=%a4%b9%be%d4%a1%d2%c3

 

-        รมต.สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เปิดการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 28 ศรีตรังเกมส์

ขอบคุณที่มาของข่าวhttp://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000127010&Keyword=%a4%b9%be%d4%a1%d2%c3

 

-        "ชลบุรี" ออกตัวแรงคว้า 2 เหรียญทองในกีฬาคนพิการแห่งชาติที่ตรังวันแรก

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9520000127013&Keyword=%a4%b9%be%d4%a1%d2%c3

 

-        ปฏิบัติการ "มนุษย์ล้อ" ขึ้นรถเมล์ ยื่นอุทธรณ์คดีบีทีเอสต่อศาลปกครองสูงสุด

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26292

 

-        ภาพข่าวทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เครือข่ายคนพิการยื่นอุธรณ์คำพิพากษาศาล

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1058.html?content_id=219744&content_detail_id=591415&content_category_id=688

 

-        แพทย์โรงพยาบาล ม.บูรพา ต้องการทราบความต้องการของคนพิการ

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.tddf.or.th/tddf/webboard/feedback.php?ID=7288&READNUM=13

 

-        วิถียุติธรรมสำหรับคนพิการ

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.tddf.or.th/tddf/newsroom/detail.php?id=0006863&newscate=01%3C/

 

-        สำนักงานประกันสังคมยอมรับความจริงบริการแย่กว่าบัตรทอง ขอบคุณที่มาของข่าว  http://www.posttoday.com/news.php?id=72480

 

-        ตร.ภาค ๔ จับมือรัฐ-เอกชนสร้างบ้านใหม่คนพิการ

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=420&contentId=27190&hilight=%E0%B8%95%E0%B8%A3.%  E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%20%E0%B9%94%20%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3 

 

-         ภาคปชช.เตรียมยื่นจัดตั้ง"สภาผู้พิการอาเซียน"

ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.komchadluek.net/detail/20091020/33555/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%8A.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E2%80%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E2%80%9D.html

-        คนพิการออก "วงเวียนชีวิต" เป็นการ "ตบหน้า" อบต./เทศบาลว่าไม่มีประสิทธิภาพ ขอบคุณที่มาของข่าว http://www.tddf.or.th/tddf/newsroom/detail.php?id=0006889

-         

-        รายงาน เรื่องผู้หญิงพิการซ้ำซ้อนถูกข่มขืน (เอกสารตามไฟล์แนบ) ขอขอบคุณ คุณสุรีพร ยุพา ผู้จัดทำรายงาน

 

-        เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคร่วมแถลงข่าว 3G (เอกสารตามไฟล์แนบ) ขอขอบคุณ คุณอาภาณี มิตรทอง เอื้อเฟื้อข่าว

 

-         

ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน หรือ ส่งซ้ำ หากท่านไม่ประสงค์รับข้อมูลข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ กรุณาแจ้งได้ที่ kwanruthai@dpiap.org 

เข้าชมเวบไซต์ของค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้ที่  www.dpiap.org

 

ขอบคุณค่ะ

ขวัญฤทัย สว่างศรี

ผู้ประสานงานโครงการภายในประเทศ

องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

Best regards,

Ms.Kwanruthai  Savangsri

National Project Coordinator

 

**************************************************************

Disabled Peoples' International Asia-Pacific Region (DPI/AP)

92 Phaholyothin 5 Road, Samsennai, Phayathai Bangkok 10400 THAILAND

Tel: 66 (0)2 271-2123

Fax: 66 (0)2 271-2124

Email: kwanruthai@dpiap.org

Website: http://www.dpiap.org/

**************************************************************

 


วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ผลประโยชน์ต่างตอบแทน

 ผลประโยชน์ต่างตอบแทน / ตะเกียงเจ้าพายุ

บุญกรม ดงบังสถาน1/10/2552

 

ผลประโยชน์ต่างตอบแทน

 

                ปุถุชน คนเดินดินทุกคนย่อมมีโลภ โกรธ หลง แม้แต่นักการเมืองที่ผ่านศึกเหนือเสือใต้มามาก มีประสบการณ์โชกโชนอย่างนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลรับผิดชอบด้านความมั่นคง

                เมื่อ เจอคำถามนักข่าวจี้ใจดำเข้าหน่อย สีหน้าแววตาที่แลดูสบายก็กลับเป็นเคร่งขรึม บึ้งตึงทันที แต่ก็ยังดีที่ข่มอารมณ์ได้ ไม่ถึงกับโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ

                นาย สุเทพให้สัมภาษณ์นักข่าวเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้กองทัพก่อหนี้ผูกพัน ข้ามปีงบประมาณเพื่อจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ โดยนักข่าวถามจี้ใจดำว่ารัฐบาลเอาใจกองทัพเกินไปหรือไม่ นายสุเทพมีน้ำเสียงเคร่งขรึมก่อนที่จะตอบว่าการตั้งข้อกล่าวหาเป็นการตั้ง สมมติฐานที่ผิด

                เรื่อง นี้ จะเป็นการตั้งสมมติฐานที่ผิดของนักข่าวอย่างที่นายสุเทพเข้าใจหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อไปดูโครงการจัดซื้ออาวุธของเหล่าทัพ ซึ่งเมื่อเสนอขึ้นไปแล้วก็จะได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลทันที ไม่มีใครทักท้วงหรือขอนำไปศึกษาก่อนเหมือนกับโครงการของกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายพลเรือน

                ยิ่งไปกว่านั้น เพียงแค่ 2 อาทิตย์ติดๆ กันรัฐบาลเทกระจาดให้แก่กองทัพไปแล้วหมื่นกว่าล้านบาท มีทั้งยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดซื้อ การหลีกเลี่ยงรัฐธรรมนูญ แบบนี้จะไม่ให้เข้าใจว่ารัฐบาลเอาใจกองทัพเกินไปได้อย่างไร

                เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 ใน ช่วงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ติดภารกิจ เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ ที่ประชุม ครม.ซึ่งมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีมติให้กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันเพื่อ จัด.ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ล็อตใหญ่โดยวิธีพิเศษ คือ ไม่ต้องประมูลประกวดราคาให้ยุ่งยาก

                โครงการจัดซื้ออาวุธที่รัฐบาลอนุมัติงบก้อนโตให้นี้มีทั้งของกองทัพบก กองทัพเรือและกองบัญชาการกองทัพไทย เช่น  จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง 3 ลำ ปืนเล็กยาว 14,000 กระบอก

                จัดหารถบรรทุก 1,400 คัน รถบดล้อเหล็กล้อหนาม 36 คัน รถตีนตะขาบ 62 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่พร้อมปั้นจั่น 25 คัน รวมหนี้ผูกพันก้อนใหญ่เป็นตัวเลขกลมๆ 11,000 ล้านบาท

ถัดมาอีกอาทิตย์เดียว คือ วันอังคารที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมานี้เอง ครม.ซึ่งมีนายอิภสิทธิ์เป็นประธาน ก็ได้อนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบา 16 ลำ วงเงิน 1,100 ล้านบาทโดยวิธีพิเศษ และโครงการซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ วงเงิน 980 ล้านบาท เป็นต้น

เพราะ ฉะนั้น จึงไม่ควรตำหนินายสุเทพว่าฉวยโอกาสที่นายอภิสิทธิ์ไม่อยู่เอาใจทหาร รีบอนุมัติงบก้อนโตให้ เพราะไม่ว่านายอภิสิทธิ์อยู่หรือไม่อยู่ในที่ประชุมครม. มันก็มีค่าเท่ากัน

คือ ถ้าเป็นความต้องการของกองทัพ รัฐบาลชุดนี้หรือชุดไหนๆโดยเฉพาะรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากฐานของประชาชนอย่างแท้ จริง แต่ตั้งขึ้นมาได้เพราะได้กองทัพเป็นตัวช่วยด้วยแล้ว มักจะอนุมัติให้ตามที่กองทัพร้องขอทันที

ทั้งนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพหรือสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ปฏิเสธว่าถ้าไม่ได้ทหารช่วย พรรคก็จะไม่มีวันนี้ คือวันที่ได้เป็นรัฐบาล    ดังนั้น การเทกระจาดให้กองทัพเที่ยวนี้จึงถือว่าเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน

คือ ตอบแทนที่ทหารได้ช่วยให้เกิดการพลิกขั้วการเมือง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล

ผมเห็นใจและเข้าใจเหล่าทัพ เพราะตั้งแต่ฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 เป็น ต้นมา งบจัดซื้ออาวุธได้ถูกจำกัดจำเขี่ยมาตลอด เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ในขณะที่อาวุธที่มีอยู่อาจจะตกรุ่นบ้างและของที่ไม่ได้ใช้ก็ต้องเสื่อมสภาพ เป็นธรรมดา ต้องมีค่าซ่อมบำรุงอยู่ตลอด แต่เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 งบกระทรวงกลาโหมเริ่มสูงขึ้น

แต่ส่วนมากก็ยังเป็นงบประจำ คือ เงินเดือนและค่าฝึกศึกษาของกำลังพล ที่เป็นงบซื้ออาวุธนั้นมีน้อย

อย่าง ไรก็ตาม สิ่งที่อยากจะท้วงติง ได้แก่ วิธีการจัดซื้อ กองทัพได้เสนอ ครม.เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ไม่ต้องประมูลประกวดราคาให้ยุ่งย่าก สามารถซื้อจากบริษัทโดยตรงได้เลย

ยิ่ง ไปกว่านั้น กองทัพยังชี้นิ้วระบุชื่อบริษัทที่จะจัดซื้ออาวุธไปด้วย เหมือนกับเป็นการมัดมือชกรัฐบาลอย่างนั่นแหละ ปิดช่องเอกชนรายอื่นไม่ให้เสนอสินค้าเข้าแข่งขัน

ซึ่ง ถ้าไปตรวจสอบทะเบียนการค้า บริษัทที่มีชื่ออยู่ในบัญชีที่กองทัพจะซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ด้วยนั้นล้วนมีคน ที่มีนามสกุลที่เกี่ยวข้องพรรคการเมืองในปีกของรัฐบาลด้วย

ที่ น่าเกลียดกว่านั้น นึกไม่ถึงว่ารัฐบาลชุดนี้จะกล้าทำ คือ อนุมัติตามที่กองทัพเสนอให้ยกเว้นการจัดซื้ออาวุธต้องเป็นแบบรัฐต่อรัฐหรือ จีทูจี ซึ่งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้

โดย ให้กองทัพสามารถซื้อสินค้าจากบริษัทเอกชนได้โดยตรง เพราะถ้าหากซื้อแบบรัฐต่อรัฐตามระเบียบราชการ จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190

เพื่อ ตัดปัญหาความยุ่งยาก รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ยอมตามที่กองทัพเสนอ คือ ให้ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ โดยกองทัพสามารถทำสัญญาซื้ออาวุธจากเอกชนได้โดยตรง ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา

นี่ถือเป็นการหลีกเลี่ยงรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและกองทัพ เป็นตัวอย่างที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบหากมีอะไรเกิดขึ้นในภายหลัง

ไม่ เข้าใจว่ารัฐบาลต้องทำแบบนี้ด้วย ขั้นตอนต่อไปจะทำอย่างไรหลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้กองทัพทำสัญญากับเอกชน ได้โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่

รัฐธรรมนูญนั้นเหนือกว่ากฎหมายทั้งปวง มติครม.จะหลีกเลี่ยงรัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้นทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิด

การ จัดซื้ออาวุธโดยวิธีพิเศษและไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจจะทำให้กรรมวิธีต่างๆ เกิดความรวดเร็ว สะดวก กองทัพคงไม่ต้องการให้การซื้อเป็นเรื่องเอิกเกิรก เปิดเผยต่อสาธารณะ

แต่ผลเสียก็คือ อาจจะทำให้เกิดช่องทางทุจริตได้ง่าย  ปกติแล้วเอกชนที่ต้องการขายสินค้าก็ต้องมีการบวกค่าคอมมิสชั่นอยู่แล้ว ธุรกิจค้าอาวุธนั้นมีเอกชนเพียงไม่กี่รายหรอกที่สามารถทำได้

เพราะฉะนั้น วงการนี้จึงมีผลประโยชน์มหาศาล กินกันท้องกางเชียวแหละ

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4295&acid=4295

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ส.ส.โอดเบี้ยประชุม-ค่าอาหารไม่พอ

วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11527 มติชนรายวัน


ส.ส.โอดเบี้ยประชุม-ค่าอาหารไม่พอ




เมื่อ วันที่ 30 กันยายน นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้า กมธ.จะเชิญ ประธาน กมธ.สามัญ 35 คณะ หารือการจัดสรรงบประมาณปี 2553 ในส่วนค่าเบี้ยประชุม ค่าอาหารสำหรับเลี้ยงผู้มาประชุม กมธ. พอแค่ 9 เดือน และในส่วน ส.ส.ได้รับจัดสรรน้อยกว่า ส.ว. อย่างเบี้ยประชุม กมธ.สภาได้รับการจัดสรร 50 ล้านบาท แต่ ส.ว.ได้ 76 ล้านบาท ทั้งที่ ส.ส.มีจำนวน 480 คน แต่ ส.ว.มีเพียง 150 คน กมธ.ของสภาก็มีถึง 35 คณะ แต่ของ ส.ว.มีเพียง 22 คณะ อีกทั้งการประชุม กมธ.ของสภาก็มีการประชุมมากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้เชิญสำนักงบประมาณ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรมบัญชีกลาง มาหารือการประชุม กมธ.สัปดาห์ที่แล้วว่า ถ้าโอนงบฯค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ที่เหลือในปีงบประมาณปี 2552 มาโปะในส่วนดังกล่าวของปี 2553 นั้น น่าจะทำได้ และไม่ต้องส่งเงินที่เหลือจากการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2552 คืนคลัง แต่ก็ยังไม่สรุป 100% กมธ.จึงให้ไปเตรียมเรื่องมาทั้งระเบียบ และตัวเลขงบประมาณที่เหลือจากการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2552 เพื่อจะมาพิจารณาอีกครั้ง


หน้า 11

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้องปรินซ์บอลรูม ๓ ชั้น ๑๑ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ

พิธีประกาศเกียรติคุณสถานที่ดีเด่นที่เอื้อต่อคนพิการ  และ อปท. ดีเด่นด้านการจัดสวัสดิการสำหรับคนพิการ ประจำปี ๒๕๕๒ และ
การสัมมนาเรื่อง  “ การจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ” วันจันทร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๒
ณ ห้องปรินซ์บอลรูม ๓ ชั้น ๑๑ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพฯ


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

สรุปเวทีเสวนา "สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม"

สรุปเวทีเสวนา “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม”

         ในปี ๒๕๕๒ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดให้มีการพิจารณาทบทวนนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการดำเนินงานเพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่ว ถึง (USO) ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี   ซึ่งได้มีการดำเนินการพัฒนาร่าง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม   ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ไปตามลำดับขั้นแล้วนั้น
          สถาบัน คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายคนพิการในการพัฒนานโยบาย การเข้าถึงบริการโทรคมนาคม ดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับ เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายนักวิชาการ  ตัวแทนผู้ประกอบการ   ในการจัดเวทีเสวนา  “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการสะท้อนความต้องการ และเสนอเจตนารมย์ของคนพิการต่อการพัฒนานโยบายการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

กำหนดการ
การเสวนา “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม”
วันจันทร์ ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒  เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ หอประชุมสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

๑๒.๓๐ –๑๓.๐๐  น.    ลงทะเบียนรับเอกสาร
๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์  ลำดับความเป็นมา
                             โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
                                   ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑๓. ๑๕  – ๑๔.๐๐ น.  สิทธิคนพิการตามรัฐธรรมนูญ  : ความเท่าเทียม ทั่วถึง  เป็นธรรม และมีศักดิ์ศรี
                              โดย นายมณเทียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา  
๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.     เสวนาในหัวข้อ “ประกาศ USO ช่วยให้คนพิการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้จริงหรือ”   
                              โดย  คุณต่อพงศ์ เสลานนท์   คณะอนุกรรมการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม
                                     อ.วันทนีย์ พันธุชาติ      ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
                                     คุณอรดา เทพยานนท์   Chalmers University of Technology 
                                     นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
                               ดำเนินรายการโดย  
                                     คุณชาญ   รูปสม   กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑๕.๓๐ – ๑๕.๔๕ น.    ตัวแทนเครือข่ายคนพิการประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอจากที่ประชุม
๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.     รับข้อเสนอจากเครือข่ายและกล่าวปิด โดย ศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

ข้อเสนอในเวทีฯ คลิกที่นี่new.gif ข้อเสนอ.pdf

ติดตาม สรุปเสวนาสิทธิคนพิการฯ อย่างละเอียด.pdfnew.gif

ภาพบรรยากาศเวทีเสวนาฯ

IMG_1543.jpg

IMG_1546.jpg

IMG_1567.jpg

IMG_1577.jpg

IMG_1590.jpg

IMG_1596.jpg

 

สรุปเวทีเสวนา “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม”

         ในปี ๒๕๕๒ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้จัดให้มีการพิจารณาทบทวนนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการดำเนินงานเพื่อจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่ว ถึง (USO) ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี   ซึ่งได้มีการดำเนินการพัฒนาร่าง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม   ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ไปตามลำดับขั้นแล้วนั้น
          สถาบัน คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายคนพิการในการพัฒนานโยบาย การเข้าถึงบริการโทรคมนาคม ดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับ เครือข่ายคนพิการ เครือข่ายนักวิชาการ  ตัวแทนผู้ประกอบการ   ในการจัดเวทีเสวนา  “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการสะท้อนความต้องการ และเสนอเจตนารมย์ของคนพิการต่อการพัฒนานโยบายการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

กำหนดการ
การเสวนา “สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม”
วันจันทร์ ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒  เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ หอประชุมสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

๑๒.๓๐ –๑๓.๐๐  น.    ลงทะเบียนรับเอกสาร
๑๓.๐๐ – ๑๓.๑๕ น.    ชี้แจงวัตถุประสงค์  ลำดับความเป็นมา
                             โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา
                                   ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑๓. ๑๕  – ๑๔.๐๐ น.  สิทธิคนพิการตามรัฐธรรมนูญ  : ความเท่าเทียม ทั่วถึง  เป็นธรรม และมีศักดิ์ศรี
                              โดย นายมณเทียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา  
๑๔.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.     เสวนาในหัวข้อ “ประกาศ USO ช่วยให้คนพิการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้จริงหรือ”   
                              โดย  คุณต่อพงศ์ เสลานนท์   คณะอนุกรรมการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม
                                     อ.วันทนีย์ พันธุชาติ      ศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
                                     คุณอรดา เทพยานนท์   Chalmers University of Technology 
                                     นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
                               ดำเนินรายการโดย  
                                     คุณชาญ   รูปสม   กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
๑๕.๓๐ – ๑๕.๔๕ น.    ตัวแทนเครือข่ายคนพิการประกาศเจตนารมณ์และข้อเสนอจากที่ประชุม
๑๕.๔๕ – ๑๖.๐๐ น.     รับข้อเสนอจากเครือข่ายและกล่าวปิด โดย ศ.ดร.ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

ข้อเสนอในเวทีฯ คลิกที่นี่new.gif ข้อเสนอ.pdf

ติดตาม สรุปเสวนาสิทธิคนพิการฯ อย่างละเอียด.pdfnew.gif

ภาพบรรยากาศเวทีเสวนาฯ

IMG_1543.jpg

IMG_1546.jpg

IMG_1567.jpg

IMG_1577.jpg

IMG_1590.jpg

IMG_1596.jpg

 

IMG_1663.jpg
IMG_1663.jpg

 

คนพิการขอมีส่วนร่างยูเอสโอใหม่

คนพิการขอมีส่วนร่างยูเอสโอใหม่

 

                            news_img_68316_1.jpg

คนพิการขอร่วมร่างประกาศยูเอสโอใหม่ หวังได้บริการตรงความต้องการ เสนอตั้งอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานเพื่อคนพิการ ทั้งแนะกรรมการกองทุนยูเอสโอต้องโปร่งใส นำเงินพัฒนาโทรคมแท้จริง

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ ประธานอนุกรรมการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง "สิทธิคนพิการกับการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม" ว่า หลังจากมีการรับฟังความคิดเห็นถึงร่างประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม (ยูเอสโอ) ฉบับที่ 2 ตั้งแต่เดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มคนพิการได้จัดทำข้อเสนอต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขอมีส่วนร่วมจัดทำร่าง เพื่อให้ได้รับบริการโทรคมนาคมที่ตรงกับความต้องการจริงๆ

ประเด็นหลักที่คนพิการต้องการกำหนดให้ชัดเจน คือ การจัดให้มีบริการที่ทุกคนต้องเข้าถึงได้ในหลายมิติ ไม่ใช่เฉพาะทางภูมิศาสตร์ เช่น กำหนดให้ต้องมีโทรศัพท์สาธารณะ 2 เลขหมายในหมู่บ้าน แต่ต้องคำนึงถึงมิติด้านเศรษฐกิจ, สังคม, ข้อจำกัดของผู้ใช้ ฯลฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์จริง ไม่ใช่เพียงแต่ติดตั้งแล้วไม่สามารถประเมินผลทางปฏิบัติได้

อีกทั้งการจัดประเภทบริการต้องเปิดให้คนพิการเข้าไปมีส่วนร่วม เพื่อให้ตรงความต้องการที่แท้จริง เช่น การใช้บริการโทรศัพท์มือถือ, อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ถือว่าเป็นการกำหนดบริการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้า ต่างจากประกาศฉบับแรกที่เสนอบริการโทรศัพท์สาธารณะ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 กิโลบิตต่อวินาที แต่ไม่มีคนพิการคนไหนได้ใช้ประโยชน์

นอกจากนี้ กทช.ต้องตั้งคณะอนุกรรมการทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยี อุปกรณ์ และบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการให้เหมาะสม เช่น ต้องพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้งานอุปกรณ์ เช่น มีตัวนูนบริเวณเลข 5 บนแป้นโทรศัพท์ หรือมีปุ่มฉุกเฉินบนโทรศัพท์พื้นฐาน

รวมถึงประเด็นการบริหารกองทุนยูเอสโอ ซึ่งจะเป็นเงินงบประมาณที่ใช้สำหรับสนับสนุนบริการโทรคมนาคมสำหรับคนพิการ ควรกำหนดเรื่องที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารกองทุน สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างความโปร่งใส เพราะเงินในกองทุนมีมูลค่ามหาศาล

นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ กรรมการ กทช. กล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมยูเอสโออย่างไร 1.2-1.8% จัดเก็บทุกรายหรือไม่ ต้องพิจารณาให้ได้ดี โดยเฉพาะการจัดเก็บจากรายเล็ก จะเป็นการเพิ่มภาระเกินไปหรือไม่ รวมถึงการเก็บเงินทุกรายมาเปิดประมูลไปดำเนินการ อาจทำให้ล่าช้ามากกว่าจะได้ผู้ชนะและเริ่มดำเนินการ

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้าไอที-นวัตกรรม/สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 13 สิงหาคม 2552

ข่าวจากแหล่งอื่น:

http://www.tci.or.th/hotnews_show.asp?id=78

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ได้จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับทีมวิทยากรกระบวนการ


 



From: kwanruthai <kwanruthai@dpiap.org>
To: 
Sent: Friday, September 11, 2009 7:53:56 PM
Subject: สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ได้จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับทีมวิทยากรกระบวนการ

 

เรียนทุกท่าน

เมื่อวันที่ ๑-๔ กย. ทาง สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ได้จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับทีมวิทยากรกระบวนการ โดยมีทีมเยาวชนกทม ทีมคนตาบอด และทีมคนพิการทางร่างกาย โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม  ๒๑ คน  ประกอบด้วยทีมคนพิการตาบอด ๙ คน  ทีมคนพิการทางร่างกาย ๔ คน  และทีมเยาวชน ๘ คน จึงสรุปข้อมูลกิจกรรมส่งรายงานให้ทุกคนทราบ แต่ขออภัยที่จะส่งรายงานเป็นรายงานวันต่อวัน เนื่องจากกิจกรรมเนื้อหามีมากอาจทำให้ทุกคนไม่อยากอ่านค่ะ จึงขอส่งรายงานกิจกรรมในวันที่ ๑ มาก่อนค่ะ

ขอขอบคุณ  คุณอาภาณี  มิตรทอง สำหรับข้อมูล

 

 

ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน หรือ ส่งซ้ำ

ขอบคุณค่ะ

ขวัญฤทัย  สว่างศรี

 

 

 

 

 

Best regards,

Ms.Kwanruthai  Savangsri

National Project Coordinator

 

**************************************************************

Disabled Peoples' International Asia-Pacific Region (DPI/AP)

92 Phaholyothin 5 Road, Samsennai, Phayathai Bangkok 10400 THAILAND

Tel: 66 (0)2 271-2123

Fax: 66 (0)2 271-2124

Email: kwanruthai@dpiap.org

Website: http://www.dpiap.org/

**************************************************************

 


สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ได้จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับทีมวิทยากรกระบวนการ


หัวข้อที่ ๑ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์

 

การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult Learning)

 

     Learning Style

 


Learning Style

 

DO

Concrete Experience

 

 

 


ต้องการรูปธรรมชัดเจน/ ไม่ชอบนามธรรม

เอาความรู้สึกของตนเป็นที่ตั้ง

 

               

 

Reflective

Observation

Active

Experimentation

                   TRY                                                                                        WATCH

 

 


ชอบทดลอง/ ไม่ชอบการเลียนแบบ                                                       สังเกต/ ต้องการเวลา

หาเอกลักษณ์ของตัวเอง                                                                            เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล

 

 

Abstract

Conceptualization

 

 

 


                                                                                THINK

ชอบคิด ชอบถกเถียง

วิเคราะห์อย่างมีระบบ

 

 

 

                                                                                                                                        

การเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์

(Experiential Learning)

 

เอื้ออำนวยให้เกิด

สถานการณ์หรือบรรยากาศ

ที่นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้

EXPERIENCING

 

 

นำวิธีการเรียนรู้มา                                                                                                             ได้วิเคราะห์

ประยุกต์ใช้                                                                                                                          ปัญหา

APPLY                                                                                                      PROCESSING

 

 


                                                                     

               ประสบการณ์จำลอง

                                                                สัมพันธ์กับประสบการณ์ในชีวิตอย่างไร

GENERALIZATION

 

จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

1.               ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์กว้างขวาง มีบทเรียนชีวิตมากมาย จะเรียนรู้ได้ดีจากเพื่อน ดังนั้นนักฝึกอบรมควรกระตุ้นให้เขาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างสถานการณ์ให้เขาได้สนทนากับบุคคลอื่น ให้เขานั่งล้อมวง ซึ่งสามารถเห็นบุคคลอื่น เพื่อที่จะพูด ฟัง และสบตาคู่สนทนาได้

2.               ผู้ใหญ่มีความสนใจ และเรียนรู้อย่างรวดเร็วในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ดังนั้น ผู้ฝึกอบรมต้องสร้างสถานการณ์ให้เขาได้แลกเปลี่ยนและวางแผน กำหนดประเด็น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเป็นผู้ร่วมประเมินผลสิ่งที่เขาทำด้วย

3.               ผู้ใหญ่(เด็กก็เช่นกัน)เป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี เขาจะต้องถูกกระทำด้วยความเคารพ และไม่ควรทำให้เขารู้สีกว่า ถูกลดเกียรติหรือหัวเราะเยาะต่อหน้าคนอื่น

 

 

 

การเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

·       สนใจ

·       ตรงกับความต้องการ

·       มีพื้นฐานความรู้เดิมและประสบการณ์

·       ไม่ขัดกับธุระของเขา เวลาเหมาะสม

·       ชอบ

·       พร้อม เตรียมพร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย

·       พยายามต้องการจะรับ

·       คุ้นเคยกับสมาชิก

·       บรรยากาศดี

·       ยอมรับโดยส่วนตัว บุคคล

·       มีความเชื่อมั่นในตนเอง

·       ไม่มีกฎเกณฑ์มากนัก

·       มีตัวอย่างของความสำเร็จให้เห็น

·       เมื่อมีโอกาสได้ปฏิบัติ มีการสาธิตประกอบ

·       ความยากง่ายเหมาะสม

·       มีโอกาสคิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง

 

ลักษณะการเรียนรู้ที่เหมาะสม

 

                มีกิจกรรมร่วมกัน และต้องมีความใกล้ชิดสนิทสนม การเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา การทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา สิ่งสำคัญคือนักพัฒนาต้องรู้ถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของคน

                จุดตัดสินใจเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในงานพัฒนาได้นั้น สิ่งสำคัญคือ

·       ไม่สามารถอยู่กับการทดลองหรือเสี่ยงกับความไม่แน่นอน

·       ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการตัดสินใจ

โดยมีปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจที่สำคัญ และต้องคำนึงถึง คือ

·       ปัจจัยภายใน ตัวของมเป็นเขาเอง ความเป็นมา ครอบครัว ลักษณะส่วนตัว ความอยาก ความต้องการของตนเอง

·       ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีต่างๆ สถานการณ์ปัญหา อันมีส่วนสัมพันธ์กับภายนอก

 

 

 

เนื้อหาที่ 2 : ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้

 

ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้

 

 

1.  การประเมินปัญหา/ ความต้องการ (คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

OK

 

 

 

4.  เลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ

 

2.  กำหนดวัตถุประสงค์

3.  เลือก/ กำหนดเนื้อหา

(การออกแบบเนื้อหา)

                                               

5.  ดำเนินการ

 

6.  ประเมินผล

 

7.  ติดตามผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


20200000000000007

870020539

 กระบวนการการเรียนรู้

                ประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 7 ขั้นตอนหลัก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นช่วงระยะการดำเนินการได้ 3 ช่วงหลัก ทั้งนี้โดยมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการงานฝึกอบรมสัมพันธ์และครอบคลุมอยู่ในทุกช่วงระยะของการทำงาน ในการดำเนินการใน 3 ช่วงระยะของการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้

 

1. ช่วงก่อนเริ่มรายการเรียนรู้ (ก่อน)

การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย/ การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

 

·  การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

-                   มีความต้องการเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้

-                   มีความสนใจในการเรียนรู้

-                   เนื้อหาของการฝึกอบรมสอดคล้องกับภารกิจ

-                   ไม่มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เช่น เป็นไข้จับสั่น ปวดฟันอย่างรุนแรง ฯ

 

 

 

 

·  การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้  ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

-                   ใช้แบบสอบถามประเมินปัญหาและความต้องการ

-                   คณะทำงานจัดการเรียนรู้จัดประชุมปรึกษาหารือ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม

-                   วิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนรู้

 

* จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีกรณีไหนบ้างที่แก้ไขได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำได้โดยการสอบถาม/ตรวจสอบกับแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น การขาดความรู้  ขาดทักษะ หรือเป็นเรื่องทัศนคติมุมมอง ความเข้าใจ  ฯลฯ

* นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้น ปัญหาในการทำงานบางอย่างไม่อาจแก้ไขได้โดยการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพียงอย่างเดียว การเรียนรู้จะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ก็จำเป็นต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมว่าต้องการการเรียนรู้เรื่องอะไรที่เฉพาะเจาะจงลงไป สิ่งนำไปสู่การเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อไป

* วิธีการที่จะให้ทราบความต้องการในการเรียนรู้ที่ทำได้ง่ายและเร็วคือ การใช้แบบสอบถามในเนื้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะต้องนำไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดเนื้อหา หัวข้อเรื่องที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

* ในบางกรณี ฝ่ายบริหารอาจจะเป็นฝ่ายกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะต้องจัดทำขึ้น ซึ่งทางที่ดีก่อนตัดสินใจ ควรมีตัวแทนของกลุ่มบุคคลว่าเป็นกลุ่มเป้าหมาย มาร่วมให้ข้อมูลก่อนตัดสินใจ

* การจะทำงานจัดกระบวนการเรียนรู้ในบางกรณีจะต้องร่วมกับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การวางแผน ไปสู่การออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ บางครั้งผั้เข้าร่วมอาจจะเป็นคนเก็บรวบรวมข้อมูลเอง จากนั้นก็พัฒนาวิเคราะห์ กำหนดแนวและออกแบบการฝึกอบรม บทบาทของคณะจัดฝึกอบรมเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น

 

การกำหนดวัตถุประสงค์

                ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะต้องนำมาใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีความเฉพาะเจาะจง คุณลักษณะที่ดีของการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม คือ วัตถุประสงค์จะต้อง

·       มีความเฉพาะเจาะจง

·       วัดผลได้

·       มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ

·       ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

·       มีกำหนดเวลาที่แน่นอน

 

การเลือก/ กำหนดเนื้อหา

                การออกแบบเนื้อหา เป็นเอกสารอธิบายแนวคิดและเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นว่าเป็นอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร  คณะผู้จัดการเรียนรู้ จำเป็นที่จะต้องแสดงแก่

·       ผู้บริหาร  ให้เป็นถึงเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้

·       ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป

-                   เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์

-                   เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการเรียนรู้ได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

-                   สรุปประเด็นเนื้อหาการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

-                   สรุปประจำวัน : ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข

-                   ก่อนฝึกอบรม : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ เช่น รายการเรียนรู้ เวลา ภารกิจของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติ

-                   ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง

·       ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรจะแสดงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะผู้จัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องจัดทำเนื้อหาการเรียนรู้

-                   ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

-                   การออกแบบการเรียนรู้ควรที่จะมีความชัดเจน

-                   มีความสมบูรณ์ มีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการ

-                   เนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องและสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์

 

การเลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ

                การเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม  ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้

·       เหมาะสมกับเนื้อหา

·       เหมาะสมกับเวลาที่มี

·       มีความคุ้มค่าในการใช้งาน

·       สามารถหาวัสดุอุปกรณ์ได้

·       เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

·       ผู้ดำเนินการมีความคุ้นเคยและมีทักษะในการใช้วิธีการนั้นๆอย่างเพียงพอ

·       เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้

·       สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันของผู้ร่วมเรียนรู้

 

2. ช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (ระหว่าง)

 

การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้

                ภารกิจต่างๆ ในช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้  มีดังนี้

·       คณะผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรจะมาก่อนเวลาเพื่อตรวจสอบความพร้อมของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์สิ่งของที่ต้องใช้สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ และต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และทรัพยากรบุคคล

·       เริ่มให้ตรงเวลา  (ถ้าช้าควรให้เหตุผลที่ชัดเจน)

·       บางกรณีอาจจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ บางกรณีไม่จำเป็น พิจารณาตามความเหมาะสม

·       ดำเนินกิจกรรมอุ่นเครื่อง เพื่อเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในความคาดหวัง กำหนดการและการอยู่ร่วมกันในระหว่างการเรียนรู้  เช่น ที่พัก รับประทานอาหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

·       การจัดกิจกรรมที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้  สร้างบรรยากาศที่ดี และเปิดโอกาสการแลกเปลี่ยน แสดงข้อคิดเห็นอยู่เสมอ

·       เสริมสร้างการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มๆ

·       จัดตั้งตัวแทนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมเป็นคณะทำงานและคณะผู้จัด เพื่อเป็นกลไกรับทราบความคิดเห็นของผู้ร่วมการเรียนรู้ต่อความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค เรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมการเรียนรู้

·       สรุป/ทบทวนสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมาก่อนเริ่มสาระและกิจกรรมใหม่

·       การตรวจสอบทิศทาง/เป้าหมาย

-                   ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป

-                   เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์

-                   เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

-                   สรุปประจำวัน: ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข

-                   ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในภารกิจของผู้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับให้เหมาะสม

-                   ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง

·       การสังเกตกระบวนการเรียนรู้ คือการจัดกลไกในการเฝ้าดูแลและสังเกตความเคลื่อนไหวต่างๆ ในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้จัดฝึกอบรมได้รับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งในแง่มุมที่เป็นผลดีและแง่มุมต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมประเด็นสำคัญในการสังเกตกระบวนการฝึกอบรมคือ เรื่อง ความเหมาะสมในการใช้เวลา ความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรม ความชัดเจนจากเนื้อหา การใช้ภาษาของวิทยากร การใช้สื่อ การมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

·       การประเมินผลร่วมกันและปิดกิจกรรมการเรียนรู้

-                   การประมวลสาระเนื้อหาทั้งหมดของการเรียนรู้

-                   ในกรณีที่มีการมอบหมายประกาศนียบัตร ต้องมีเตรียมการล่วงหน้า และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

-                   จัดทำรายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ทุกคน

-                   ถ่ายรูปร่วมกัน

·       การจัดทำเอกสาร

งานเอกสารควรเตรียมการให้พร้อม ในแต่ละเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องในระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้  ควรมีการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมในแต่ละช่วงเพื่อจัดพิมพ์และแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทันที  ในระหว่างรายการเรียนรู้

 

 

3. ช่วงหลังการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (หลัง)

 

การประเมินผล

                การประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการตรวจสอบและประเมินความสำเร็จ/ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ว่าสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ของผู้เข้าร่วมได้เพียงไร และผู้เข้าร่วมสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่   อย่างไร

                นักจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีควรให้ความสำคัญในการประเมินผล  ทั้งนี้เพื่อทราบผลของการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ว่าบรรลุผลหรือไม่ และหาข้อดี ข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุง ตลอดจนเพื่อขยายผล เผยแพร่ แลกเปลี่ยน สรุปรายงาน หรือวางแผนการจัดการเรยนรู้ในครั้งต่อไป

                การประเมินผลทำได้ในช่วงก่อน ระหว่าง หลัง (หลังจากที่กระบวนการเรียนรู้เสร็จลงทันที และหลังจากจัดกระบวนการเรียนรู้เสร็จสิ้นไปแล้วระยะหนึ่ง) โดยองค์ประกอบผู้ทำการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมนั้น ประกอบไปด้วย ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ผู้จัด วิทยากร ผู้สังเกตการณ์ นอกจากนี้ยังสามารถเชิญผู้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นกลางมาร่วมประเมินผลได้ด้วย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคคลภายนอก ผู้บริหาร ฯลฯ

 

                แนวทางในการประเมินผลมีขอบข่ายในการพิจารณา  ดังนี้

·       ประเมินผลที่เกิดขึ้นจาการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการในแต่ละข้อว่าบรรลุหรือไม่ และมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมที่กำหนดขึ้นควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

·       พิจารณาจากคุณค่า/คุณภาพของกิจกรรมที่จัดในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีประเด็นในการประเมิน  ดังนี้

1.             การสร้างเนื้อหา เช่น การกำหนด/ คัดเลือกเนื้อหาสอดคล้องหรือไม่ การจัดลำดับเนื้อหาเป็นอย่างไร การกำหนดวัตถุประสงค์ การออกแบบ การกำหนดวิธีการ/สื่อ การใช้เวลา ฯลฯ

2.             กระบวนการ/บรรยากาศในการจัด เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ด้วยกันเอง ความสามารถของวิทยากร ความเหมาะสม การใช้วิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ฯลฯ

3.             การบริหารและการจัดการกระบวนกาเรียนรู้ เช่น อาหาร ที่พัก ห้องประชุม การบริการต่างๆ การเดินทาง
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

4.             การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมฯ เช่น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจ การหาความคาดหวังของผู้เข้าร่วม  ฯลฯ

5.             การสนับสนุนหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ เช่น การติดตามเยี่ยมเยียน แนวทางการสนับสนุนต่างๆ  การพัฒนาเนื้อหา หลักสูตรต่อเนื่อง ฯลฯ

6.             การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เข้าร่วมฯ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ

 

 

 

                วิธีการประเมินผล มีขั้นตอนหลักที่สำคัญ  ดังนี้

1.             กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล

-                   ความต้องการในการใช้ผลการประเมิน (จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร และเพื่อใคร)

-                   ลักษณะของโครงการ  (วัตถุประสงค์/รายละเอียด)

2.             กำหนดขอบเขตและตัวชี้วัด

3.             แตกประเด็นในแต่ละขอบเขต

4.             เลือกรูปแบบที่เหมาะสม

5.             สร้างเครื่องมือ

6.             ใช้เครื่องมือ

7.             สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้

8.             จัดทำรายงานการประเมินผล

 

ตัวอย่างรูปแบบ/เครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผลในแต่ละช่วงของการเรียนรู้มีดังนี้

·       ช่วงหลังการฝึกอบรม เช่น แบบทดสอบ (POST-TEST) แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์

·       แบบวิเคราะห์การทำงาน ประชุม (กลุ่มย่อย/กลุ่มใหญ่)  ติดต่อสอบถามผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ

 

การติดตามผล

                การติดตามผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการติดต่อ/สื่อสาร/ สนับสนุนที่ต่อเนื่องภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ผู้ร่วมการเรียนรู้ และองค์กรของผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ด้วย ภารกิจหลักที่สำคัญในช่วงการติดตามผล มีดังนี้

1.             ทำโครงการติดตามผล โดยมีองค์กรประกอบในตัวโครงการ คือ ชื่อโครงการ จุดมุ่งหมาย แผนงาน
กิจกรรม  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.             ทำตารางบันทึกความก้าวหน้าของการติดตาม 

3.             หาข้อมูลตกลงกันเรื่องวัน/เวลา    นัดหมายเพื่อการติดตาม

4.             ออกติดตามตามกำหนดเวลานัดหมาย

5.             สรุปบทเรียนร่วมกัน  (เช่น ประชุม/สัมมนา/ทำรายงาน ฯลฯ)

6.             วางแผนงานต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาที่ 3 : คุณสมบัติและบทบาทวิทยากรกระบวนการ

 


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/