วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

4 ว.สารพัดช่างตกประเมินรอบ 2

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


4 ว.สารพัดช่างตกประเมินรอบ 2


"สุโขทัย-สมุทรปราการ-ปราจีนบุรี-ธนบุรี" "สมหวัง"แตะเบรกอาชีวะเฮโลสอน"ป.ตรี"



เมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน นายสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวศึกษา ประเภทสารพัดช่าง ว่า จากการประเมินวิทยาลัยสารพัดช่าง 50 แห่ง พบว่า ส่วนใหญ่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาของ สมศ. 42 แห่ง คิดเป็น 84% ไม่ได้รับการรับรอง 4 แห่ง คิดเป็น 8% ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี และวิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี และรอพินิจ 4 แห่ง คิดเป็น 8% ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร วิทยาลัยสารพัดช่างตราด และวิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี ส่วนที่รอพินิจต้องปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 6-12 เดือน

นายสมหวัง กล่าวว่า เมื่อจำแนกเป็นรายมาตรฐาน ปรากฏว่า มาตรฐานด้านประกันคุณภาพภายใน มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 9 แห่ง คิดเป็น 18% ดี 32 แห่ง คิดเป็น 64% พอใช้ 5 แห่ง คิดเป็น 10% และควรปรับปรุง 1 แห่ง คิดเป็น 2% ต้องปรับปรุง 3 แห่ง คิดเป็น 6% ด้านการฝึกอบรม มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 16 แห่ง คิดเป็น 32% ดี 32 แห่ง คิดเป็น 64% พอใช้ 2 แห่ง คิดเป็น 4% ด้านจัดการศึกษา มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 5 แห่ง คิดเป็น 10% ดี 36 แห่ง คิดเป็น 72% พอใช้ 9 แห่ง คิดเป็น 18% ด้านการเทียบโอนผลการเรียนรู้ มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 8 แห่ง คิดเป็น 29.63% ดี 16 แห่ง คิดเป็น 59.26% พอใช้ 3 แห่ง คิดเป็น 11.11% ด้านการให้บริการวิชาการและวิชาชีพต่อชุมชนและสังคม มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 26 แห่ง คิดเป็น 52% ดี 23 แห่ง คิดเป็น 46% พอใช้ 1 แห่ง คิดเป็น 2% และด้านการบริหารและการจัดการ มีสถานศึกษาที่อยู่ในระดับดีมาก 16 แห่ง คิดเป็น 32% ดี 31 แห่ง คิดเป็น 62% พอใช้ 1 แห่ง คิดเป็น 2%

นายสมหวังกล่าวอีกว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่งนั้น จากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองด้านการอาชีวะของรัฐ และเอกชน พบว่า สถานศึกษาที่ได้รับการประเมินภายนอกแล้ว 549 แห่ง ส่วนใหญ่ 424 แห่ง มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี และ 101 แห่ง มีผลการประเมินในระดับดีมาก มีสถานศึกษารอพินิจ 25 แห่ง แบ่งเป็น ของรัฐ 14 แห่ง เอกชน 21 แห่ง และสถานศึกษาที่ สมศ.ไม่รับรองมาตรฐาน 59 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นของรัฐ 27 แห่ง และเอกชน 32 แห่ง เมื่อพิจารณาจำนวนอาจารย์ผู้สอน พบว่า ปัจจุบันวิทยาลัยในสังกัด สอศ.มีสัดส่วนอาจารย์ที่เป็นลูกจ้างกว่า 50% และมีวุฒิระดับปริญญาตรี 73% หรือ 2 ใน 3 ของอาจารย์ทั้งหมด ดังนั้น การเปิดสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือปฏิบัติการของอาชีวะ ต้องรีบพัฒนาบุคลากร อย่างน้อยผู้ที่จะสอนระดับปริญญาตรีได้ต้องจบปริญญาโทขึ้นไป และควรมีประสบการณ์ในสถานประกอบการมากพอ ดังนั้น แม้จะมีกฎกระทรวงแล้ว แต่การอนุมัติให้กลุ่มสถาบันเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ควรพิจารณาความพร้อมของอาจารย์ และประเภทสาขาวิชา โดยยึดผลการประเมินของ สมศ.ไม่ใช่ถือเป็นการขยายโอกาส เพราะจะกลายเป็นปัญหาใหม่ในวงการอาชีวะ

"การ กำหนดให้กลุ่มสถาบันใดเปิดสอนปริญญาตรีในสาขาวิชาไหน ควรดูผลประเมินของ สมศ.ก่อน หากกลุ่มใดมีสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก ถือเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมมาก แต่กลุ่มใดไม่ได้รับการรับรองมาก ต้นสังกัดต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันทั้ง 101 แห่ง ที่ได้รับการประเมินในระดับดีมาก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) น่าจะนำร่องจริงจัง โดยให้สถานศึกษาในกลุ่มนี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล เริ่มภูมิภาคละ 1-2 แห่ง บริหารจัดการ และรับงบประมาณโดยตรงจากสำนักงบประมาณ เพื่อแก้ไขปัญหาอาจารย์ลูกจ้าง และบรรจุเป็นข้าราชการได้เอง จากนั้นขยายผลในกลุ่มที่ได้ระดับดีให้เป็นนิติบุคคล" นายสมหวังกล่าว

หน้า 22
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01051152&sectionid=0107&day=2009-11-05

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism )


 
Please visit blog.Thanks for visiting!
http://www.parent-youth.net
http://www.thaihof.org
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.industry4u.com
http://logistics.dpim.go.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://www.think.co.th/idea/?p=151


 
From: kwanruthai <kwanruthai@dpiap.org>
To: 
Sent: Fri, October 30, 2009 4:44:13 PM
Subject: การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism )

เรียนทุกท่าน

 

ขอส่งข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ( Tourism for All or Barrier-free Tourism ) เอกสารตามไฟล์แนบ ขออภัยหากไฟล์แนบมีขนาดใหญ่

โดยที่ผ่านมาพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิตและทีมงานดีพีไอเอพี จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้คนพิการและส่งเสริมสภาพแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลในพื้นที่ประสบภัยทสึนามิ (Training Workshop on Barrier-free Tourism) เมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2548  เขาหลัก จ.พังงา โดยมีโรงแรม สถานประกอบการต่างๆในจังหวัดพังงา ที่ถูกผลกระทบจากภัยธรรมชาติทสึนามิ ร่วมประชุมในครั้งนี้  

โดยคุณศรัญ   ผู้บริหารบ้านเขาหลักรีสอร์ท ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ และเป็นผู้นำแนวความคิดไปปรับใช้ โดยมีแนวคิดที่กว้างไกลกว่ากฏหมายที่ระบุไว้  โดยมองตามหลักความเป็นจริงว่า การจัดสิ่งอนวยความสะดวกต้องเพียงพอต่อผู้ใช้บริการมากกว่าจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กฏหมายกำหนด เท่านั้น  และเป็นรีสอร์ทอันดับต้นๆของประเทศไทย ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และได้รับรางวัลสถานที่ดีเด่นที่เอื้อต่อคนพิการ จัดโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายนที่ผ่านมา

ขออนุญาตลอกข้อความจากพันโทต่อพงษ์ กุลครรชิต ท่านเคยกล่าวว่า " งานด้านจัดการสภาพแวดล้อมนั้นยิ่งใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ เหมือนการสร้างบ้านแปงเมือง ถ้าทุกคนทุกระดับที่สนใจงานพัฒนาคนพิการจะเข้าใจ และช่วยกันคนละไม้คนละมือ ติดตามตรวจสอบคนละโครงการ ไม่นานจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน จะรออาศัยการผลักดันจากส่วนกลางหรือกฎหมาย/นโยบายที่ดีไม่เพียงพอ การติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายด้วยวิธีการทั้งมวลก็สำคัญไม่น้อยกว่าตัวกฎหมายเอง เมื่อสภาพแวดล้อมได้รับการจัดการหรือปรับปรุงให้เอื้ออำนวย เราจะเห็นคนพิการกล้าออกมาปรากฏตัวมากขึ้น เจตคติของคนจะค่อยๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดี มองคนพิการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เจตคติต่อการจ้างงาน การศึกษา ฯลฯ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนตาม นี่ไม่ใช่อุดมคติเลย คือเรื่องจริงที่ทำได้ ทีละน้อยๆระยะหลังๆ นี้มีการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาสิ่งก่อสร้างและแหล่งท่องเที่ยวกันมาก ทั้งโดยรัฐบาลและ อปท. พบว่าจำนวนมากอยู่ภายใต้บังคับกฎกระทรวง กรมโยธาฯ ๒๕๔๘ รวมทั้งงานก่อสร้างใหญ่น้อย แต่ขาดคนพิการ/องค์กร คอยเป็นหูเป็นตาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล Tourism for All or Barrier-free Tourism มีส่วนสำคัญที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนชรา นอกเหนือไปจากนำรายได้เข้าประเทศจากคนกลุ่มนี้มหาศาล

กฎกระทรวง ๒๕๔๘….เรื่อง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ  หรือทุพพลภาพ และคนชรา

ข้อ ๓ อาคารประเภทและลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ในบริเวณที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป

(๑) โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สถานศึกษา หอสมุดและพิพิธภัณฑสถานของรัฐ สถานีขนส่งมวลชน เช่น ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีรถ ท่าเทียบเรือ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน ๓๐๐ ตารางเมตร

(๒) สำนักงาน โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุม สนามกีฬา ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน ๒,๐๐๐ ตารางเมตร

กฎกระทรวง ๒๕๔๒….เรื่อง ลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะอื่น ที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ "

 

จากที่เราเห็นความสำเร็จของการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านเขาหลักรีสอร์ทนั้น เกิดจากการทำงานอย่างหนักระหว่างการร่วมมือกันของคนพิการ องค์กรคนพิการ องค์กรในชุมชน และสถานประกอบการ  ทำงานร่วมกันอย่างเท่าเทียม จึงนำมาสู่การมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาค  และงานด้านคนพิการ จำเป็นต้องร่วมมือกันในหลายๆฝ่าย หลายๆด้าน อยากให้ทุกคนตระหนักถึง และช่วยกันพัฒนาให้สังคมปราศจากอุปสรรค ทำให้คนพิการสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง

 

 

ขออภัยหากอีเมลฉบับนี้เป็นการรบกวน หรือ ส่งซ้ำ หากท่านไม่ประสงค์รับข้อมูลข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์ กรุณาแจ้งได้ที่ kwanruthai@dpiap.org

 

ขอบคุณค่ะ

ขวัญฤทัย สว่างศรี

ผู้ประสานงานโครงการภายในประเทศ

องค์การคนพิการสากลประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

Best regards,

Ms.Kwanruthai  Savangsri

National Project Coordinator

 

**************************************************************

Disabled Peoples' International Asia-Pacific Region (DPI/AP)

92 Phaholyothin 5 Road, Samsennai, Phayathai Bangkok 10400 THAILAND

Tel: 66 (0)2 271-2123

Fax: 66 (0)2 271-2124

Email: kwanruthai@dpiap.org

Website: http://www.dpiap.org/

**************************************************************