วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)ได้จัดเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพให้กับทีมวิทยากรกระบวนการ


หัวข้อที่ ๑ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์

 

การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult Learning)

 

     Learning Style

 


Learning Style

 

DO

Concrete Experience

 

 

 


ต้องการรูปธรรมชัดเจน/ ไม่ชอบนามธรรม

เอาความรู้สึกของตนเป็นที่ตั้ง

 

               

 

Reflective

Observation

Active

Experimentation

                   TRY                                                                                        WATCH

 

 


ชอบทดลอง/ ไม่ชอบการเลียนแบบ                                                       สังเกต/ ต้องการเวลา

หาเอกลักษณ์ของตัวเอง                                                                            เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล

 

 

Abstract

Conceptualization

 

 

 


                                                                                THINK

ชอบคิด ชอบถกเถียง

วิเคราะห์อย่างมีระบบ

 

 

 

                                                                                                                                        

การเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์

(Experiential Learning)

 

เอื้ออำนวยให้เกิด

สถานการณ์หรือบรรยากาศ

ที่นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้

EXPERIENCING

 

 

นำวิธีการเรียนรู้มา                                                                                                             ได้วิเคราะห์

ประยุกต์ใช้                                                                                                                          ปัญหา

APPLY                                                                                                      PROCESSING

 

 


                                                                     

               ประสบการณ์จำลอง

                                                                สัมพันธ์กับประสบการณ์ในชีวิตอย่างไร

GENERALIZATION

 

จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

1.               ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์กว้างขวาง มีบทเรียนชีวิตมากมาย จะเรียนรู้ได้ดีจากเพื่อน ดังนั้นนักฝึกอบรมควรกระตุ้นให้เขาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างสถานการณ์ให้เขาได้สนทนากับบุคคลอื่น ให้เขานั่งล้อมวง ซึ่งสามารถเห็นบุคคลอื่น เพื่อที่จะพูด ฟัง และสบตาคู่สนทนาได้

2.               ผู้ใหญ่มีความสนใจ และเรียนรู้อย่างรวดเร็วในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ดังนั้น ผู้ฝึกอบรมต้องสร้างสถานการณ์ให้เขาได้แลกเปลี่ยนและวางแผน กำหนดประเด็น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเป็นผู้ร่วมประเมินผลสิ่งที่เขาทำด้วย

3.               ผู้ใหญ่(เด็กก็เช่นกัน)เป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี เขาจะต้องถูกกระทำด้วยความเคารพ และไม่ควรทำให้เขารู้สีกว่า ถูกลดเกียรติหรือหัวเราะเยาะต่อหน้าคนอื่น

 

 

 

การเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

·       สนใจ

·       ตรงกับความต้องการ

·       มีพื้นฐานความรู้เดิมและประสบการณ์

·       ไม่ขัดกับธุระของเขา เวลาเหมาะสม

·       ชอบ

·       พร้อม เตรียมพร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย

·       พยายามต้องการจะรับ

·       คุ้นเคยกับสมาชิก

·       บรรยากาศดี

·       ยอมรับโดยส่วนตัว บุคคล

·       มีความเชื่อมั่นในตนเอง

·       ไม่มีกฎเกณฑ์มากนัก

·       มีตัวอย่างของความสำเร็จให้เห็น

·       เมื่อมีโอกาสได้ปฏิบัติ มีการสาธิตประกอบ

·       ความยากง่ายเหมาะสม

·       มีโอกาสคิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง

 

ลักษณะการเรียนรู้ที่เหมาะสม

 

                มีกิจกรรมร่วมกัน และต้องมีความใกล้ชิดสนิทสนม การเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา การทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา สิ่งสำคัญคือนักพัฒนาต้องรู้ถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของคน

                จุดตัดสินใจเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในงานพัฒนาได้นั้น สิ่งสำคัญคือ

·       ไม่สามารถอยู่กับการทดลองหรือเสี่ยงกับความไม่แน่นอน

·       ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการตัดสินใจ

โดยมีปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจที่สำคัญ และต้องคำนึงถึง คือ

·       ปัจจัยภายใน ตัวของมเป็นเขาเอง ความเป็นมา ครอบครัว ลักษณะส่วนตัว ความอยาก ความต้องการของตนเอง

·       ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีต่างๆ สถานการณ์ปัญหา อันมีส่วนสัมพันธ์กับภายนอก

 

 

 

เนื้อหาที่ 2 : ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้

 

ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้

 

 

1.  การประเมินปัญหา/ ความต้องการ (คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

OK

 

 

 

4.  เลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ

 

2.  กำหนดวัตถุประสงค์

3.  เลือก/ กำหนดเนื้อหา

(การออกแบบเนื้อหา)

                                               

5.  ดำเนินการ

 

6.  ประเมินผล

 

7.  ติดตามผล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


20200000000000007

870020539

 กระบวนการการเรียนรู้

                ประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 7 ขั้นตอนหลัก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นช่วงระยะการดำเนินการได้ 3 ช่วงหลัก ทั้งนี้โดยมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการงานฝึกอบรมสัมพันธ์และครอบคลุมอยู่ในทุกช่วงระยะของการทำงาน ในการดำเนินการใน 3 ช่วงระยะของการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้

 

1. ช่วงก่อนเริ่มรายการเรียนรู้ (ก่อน)

การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย/ การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

 

·  การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

-                   มีความต้องการเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้

-                   มีความสนใจในการเรียนรู้

-                   เนื้อหาของการฝึกอบรมสอดคล้องกับภารกิจ

-                   ไม่มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เช่น เป็นไข้จับสั่น ปวดฟันอย่างรุนแรง ฯ

 

 

 

 

·  การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้  ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

-                   ใช้แบบสอบถามประเมินปัญหาและความต้องการ

-                   คณะทำงานจัดการเรียนรู้จัดประชุมปรึกษาหารือ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม

-                   วิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนรู้

 

* จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีกรณีไหนบ้างที่แก้ไขได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำได้โดยการสอบถาม/ตรวจสอบกับแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น การขาดความรู้  ขาดทักษะ หรือเป็นเรื่องทัศนคติมุมมอง ความเข้าใจ  ฯลฯ

* นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้น ปัญหาในการทำงานบางอย่างไม่อาจแก้ไขได้โดยการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพียงอย่างเดียว การเรียนรู้จะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ก็จำเป็นต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมว่าต้องการการเรียนรู้เรื่องอะไรที่เฉพาะเจาะจงลงไป สิ่งนำไปสู่การเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อไป

* วิธีการที่จะให้ทราบความต้องการในการเรียนรู้ที่ทำได้ง่ายและเร็วคือ การใช้แบบสอบถามในเนื้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะต้องนำไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดเนื้อหา หัวข้อเรื่องที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

* ในบางกรณี ฝ่ายบริหารอาจจะเป็นฝ่ายกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะต้องจัดทำขึ้น ซึ่งทางที่ดีก่อนตัดสินใจ ควรมีตัวแทนของกลุ่มบุคคลว่าเป็นกลุ่มเป้าหมาย มาร่วมให้ข้อมูลก่อนตัดสินใจ

* การจะทำงานจัดกระบวนการเรียนรู้ในบางกรณีจะต้องร่วมกับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การวางแผน ไปสู่การออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ บางครั้งผั้เข้าร่วมอาจจะเป็นคนเก็บรวบรวมข้อมูลเอง จากนั้นก็พัฒนาวิเคราะห์ กำหนดแนวและออกแบบการฝึกอบรม บทบาทของคณะจัดฝึกอบรมเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น

 

การกำหนดวัตถุประสงค์

                ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้  ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะต้องนำมาใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีความเฉพาะเจาะจง คุณลักษณะที่ดีของการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม คือ วัตถุประสงค์จะต้อง

·       มีความเฉพาะเจาะจง

·       วัดผลได้

·       มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ

·       ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

·       มีกำหนดเวลาที่แน่นอน

 

การเลือก/ กำหนดเนื้อหา

                การออกแบบเนื้อหา เป็นเอกสารอธิบายแนวคิดและเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นว่าเป็นอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร  คณะผู้จัดการเรียนรู้ จำเป็นที่จะต้องแสดงแก่

·       ผู้บริหาร  ให้เป็นถึงเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้

·       ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป

-                   เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์

-                   เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการเรียนรู้ได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

-                   สรุปประเด็นเนื้อหาการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

-                   สรุปประจำวัน : ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข

-                   ก่อนฝึกอบรม : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ เช่น รายการเรียนรู้ เวลา ภารกิจของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติ

-                   ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง

·       ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรจะแสดงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะผู้จัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องจัดทำเนื้อหาการเรียนรู้

-                   ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

-                   การออกแบบการเรียนรู้ควรที่จะมีความชัดเจน

-                   มีความสมบูรณ์ มีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการ

-                   เนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องและสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์

 

การเลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ

                การเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม  ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้

·       เหมาะสมกับเนื้อหา

·       เหมาะสมกับเวลาที่มี

·       มีความคุ้มค่าในการใช้งาน

·       สามารถหาวัสดุอุปกรณ์ได้

·       เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

·       ผู้ดำเนินการมีความคุ้นเคยและมีทักษะในการใช้วิธีการนั้นๆอย่างเพียงพอ

·       เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้

·       สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันของผู้ร่วมเรียนรู้

 

2. ช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (ระหว่าง)

 

การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้

                ภารกิจต่างๆ ในช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้  มีดังนี้

·       คณะผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรจะมาก่อนเวลาเพื่อตรวจสอบความพร้อมของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์สิ่งของที่ต้องใช้สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ และต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และทรัพยากรบุคคล

·       เริ่มให้ตรงเวลา  (ถ้าช้าควรให้เหตุผลที่ชัดเจน)

·       บางกรณีอาจจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ บางกรณีไม่จำเป็น พิจารณาตามความเหมาะสม

·       ดำเนินกิจกรรมอุ่นเครื่อง เพื่อเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในความคาดหวัง กำหนดการและการอยู่ร่วมกันในระหว่างการเรียนรู้  เช่น ที่พัก รับประทานอาหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

·       การจัดกิจกรรมที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้  สร้างบรรยากาศที่ดี และเปิดโอกาสการแลกเปลี่ยน แสดงข้อคิดเห็นอยู่เสมอ

·       เสริมสร้างการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มๆ

·       จัดตั้งตัวแทนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมเป็นคณะทำงานและคณะผู้จัด เพื่อเป็นกลไกรับทราบความคิดเห็นของผู้ร่วมการเรียนรู้ต่อความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค เรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมการเรียนรู้

·       สรุป/ทบทวนสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมาก่อนเริ่มสาระและกิจกรรมใหม่

·       การตรวจสอบทิศทาง/เป้าหมาย

-                   ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป

-                   เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์

-                   เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

-                   สรุปประจำวัน: ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข

-                   ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในภารกิจของผู้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับให้เหมาะสม

-                   ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง

·       การสังเกตกระบวนการเรียนรู้ คือการจัดกลไกในการเฝ้าดูแลและสังเกตความเคลื่อนไหวต่างๆ ในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้จัดฝึกอบรมได้รับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งในแง่มุมที่เป็นผลดีและแง่มุมต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมประเด็นสำคัญในการสังเกตกระบวนการฝึกอบรมคือ เรื่อง ความเหมาะสมในการใช้เวลา ความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรม ความชัดเจนจากเนื้อหา การใช้ภาษาของวิทยากร การใช้สื่อ การมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

·       การประเมินผลร่วมกันและปิดกิจกรรมการเรียนรู้

-                   การประมวลสาระเนื้อหาทั้งหมดของการเรียนรู้

-                   ในกรณีที่มีการมอบหมายประกาศนียบัตร ต้องมีเตรียมการล่วงหน้า และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร

-                   จัดทำรายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ทุกคน

-                   ถ่ายรูปร่วมกัน

·       การจัดทำเอกสาร

งานเอกสารควรเตรียมการให้พร้อม ในแต่ละเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องในระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้  ควรมีการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมในแต่ละช่วงเพื่อจัดพิมพ์และแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทันที  ในระหว่างรายการเรียนรู้

 

 

3. ช่วงหลังการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (หลัง)

 

การประเมินผล

                การประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการตรวจสอบและประเมินความสำเร็จ/ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ว่าสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ของผู้เข้าร่วมได้เพียงไร และผู้เข้าร่วมสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่   อย่างไร

                นักจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีควรให้ความสำคัญในการประเมินผล  ทั้งนี้เพื่อทราบผลของการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ว่าบรรลุผลหรือไม่ และหาข้อดี ข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุง ตลอดจนเพื่อขยายผล เผยแพร่ แลกเปลี่ยน สรุปรายงาน หรือวางแผนการจัดการเรยนรู้ในครั้งต่อไป

                การประเมินผลทำได้ในช่วงก่อน ระหว่าง หลัง (หลังจากที่กระบวนการเรียนรู้เสร็จลงทันที และหลังจากจัดกระบวนการเรียนรู้เสร็จสิ้นไปแล้วระยะหนึ่ง) โดยองค์ประกอบผู้ทำการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมนั้น ประกอบไปด้วย ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ผู้จัด วิทยากร ผู้สังเกตการณ์ นอกจากนี้ยังสามารถเชิญผู้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นกลางมาร่วมประเมินผลได้ด้วย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคคลภายนอก ผู้บริหาร ฯลฯ

 

                แนวทางในการประเมินผลมีขอบข่ายในการพิจารณา  ดังนี้

·       ประเมินผลที่เกิดขึ้นจาการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการในแต่ละข้อว่าบรรลุหรือไม่ และมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมที่กำหนดขึ้นควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

·       พิจารณาจากคุณค่า/คุณภาพของกิจกรรมที่จัดในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีประเด็นในการประเมิน  ดังนี้

1.             การสร้างเนื้อหา เช่น การกำหนด/ คัดเลือกเนื้อหาสอดคล้องหรือไม่ การจัดลำดับเนื้อหาเป็นอย่างไร การกำหนดวัตถุประสงค์ การออกแบบ การกำหนดวิธีการ/สื่อ การใช้เวลา ฯลฯ

2.             กระบวนการ/บรรยากาศในการจัด เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ด้วยกันเอง ความสามารถของวิทยากร ความเหมาะสม การใช้วิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ฯลฯ

3.             การบริหารและการจัดการกระบวนกาเรียนรู้ เช่น อาหาร ที่พัก ห้องประชุม การบริการต่างๆ การเดินทาง
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

4.             การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมฯ เช่น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจ การหาความคาดหวังของผู้เข้าร่วม  ฯลฯ

5.             การสนับสนุนหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ เช่น การติดตามเยี่ยมเยียน แนวทางการสนับสนุนต่างๆ  การพัฒนาเนื้อหา หลักสูตรต่อเนื่อง ฯลฯ

6.             การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เข้าร่วมฯ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ

 

 

 

                วิธีการประเมินผล มีขั้นตอนหลักที่สำคัญ  ดังนี้

1.             กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล

-                   ความต้องการในการใช้ผลการประเมิน (จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร และเพื่อใคร)

-                   ลักษณะของโครงการ  (วัตถุประสงค์/รายละเอียด)

2.             กำหนดขอบเขตและตัวชี้วัด

3.             แตกประเด็นในแต่ละขอบเขต

4.             เลือกรูปแบบที่เหมาะสม

5.             สร้างเครื่องมือ

6.             ใช้เครื่องมือ

7.             สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้

8.             จัดทำรายงานการประเมินผล

 

ตัวอย่างรูปแบบ/เครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผลในแต่ละช่วงของการเรียนรู้มีดังนี้

·       ช่วงหลังการฝึกอบรม เช่น แบบทดสอบ (POST-TEST) แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์

·       แบบวิเคราะห์การทำงาน ประชุม (กลุ่มย่อย/กลุ่มใหญ่)  ติดต่อสอบถามผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ

 

การติดตามผล

                การติดตามผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการติดต่อ/สื่อสาร/ สนับสนุนที่ต่อเนื่องภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ผู้ร่วมการเรียนรู้ และองค์กรของผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ด้วย ภารกิจหลักที่สำคัญในช่วงการติดตามผล มีดังนี้

1.             ทำโครงการติดตามผล โดยมีองค์กรประกอบในตัวโครงการ คือ ชื่อโครงการ จุดมุ่งหมาย แผนงาน
กิจกรรม  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

2.             ทำตารางบันทึกความก้าวหน้าของการติดตาม 

3.             หาข้อมูลตกลงกันเรื่องวัน/เวลา    นัดหมายเพื่อการติดตาม

4.             ออกติดตามตามกำหนดเวลานัดหมาย

5.             สรุปบทเรียนร่วมกัน  (เช่น ประชุม/สัมมนา/ทำรายงาน ฯลฯ)

6.             วางแผนงานต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาที่ 3 : คุณสมบัติและบทบาทวิทยากรกระบวนการ

 


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น